หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557

ระบบสารสนเทศทางการผลิต (manufacturing information system ) MIS


ระบบสารสนเทศทางการผลิต
                ระบบสารสนเทศทางการผลิต นับเป็นเครื่องของการนำเสนอสารสนเทศการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้สารสนเทศด้านการวางแผน การจัดการ การควบคุมการผลิตและการดำเนินงาน ตลอดจนการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นผลลัพธ์จากกระบวนการผลิตซึ่งความต้องการสารสนเทศนี้จะแตกต่างกันไปในแต่ล่ะองค์การ เช่น ธุรกิจอุตสาหกรรม จะมีความต้องการที่แตกต่างกันไปจากธุรกิจบริการ หรือธุรกิจบริการโรงพยาบาลจะมีความต้องการสารสนเทศที่แตกต่างไปจากธุรกิจบริการในมหาวิทยาลัย เป็นต้น
การจัดการการผลิตและการดำเนินงาน
                การผลิตและการดำเนินงาน  คือ กิจกรรมหลักกิจกรรมหนึ่งซึ่งอยู่ภายใต้โซ่คุณค่าขององค์การ ซึ่งถือเป็นกระบวนการสร้างมูลค่าให้กับการแปรรูปปัจจัยการผลิตให้ผลิตภัณฑ์อันทรงคุณค่าส่งตรงถึงมือลูกค้าหรือผู้บริโภค
                1.แนวคิดและความหมาย
                การผลิตและการดำเนินงานคือ การนำทรัพยากรต่างๆ ทั้งด้านแรงงาน เงินทุน เครื่องจักร เทคโนโลยี วิธีการ วัตถุดิบ ความต้องการของตลาด การจัดการและเวลา ซึ่งรวมเรียนว่า  ปัจจัยการผลิต โดยผ่านกระบวนการผลิตในขั้นตอนต่างๆ เพื่อทำการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งหมายรวมถึงสินค้าและบริการ
                กระบวนการผลิต คือ กิจกรรมการแปรรู  ละเพิ่มมูลค่าให้กัปัจจัยการผลิตเพื่อเข้าสู่รูแบบของสินค้าหรือบริการซึ่งพร้อมส่งมอบให้ลูกค้าและในแต่ละกระบวนการผลิตจะประกอบด้วยกระบวนการผลิตหลายกระบวนการ
                2.วิวัฒนาการการผลิต
                ในระยะเริ่มต้นในการดำเนินธุรกิจด้านอุตสาหกรรม ธุรกิจส่วนใหญ่ดำเนินการผลิตบนพื้นที่การผลิตเก็บเป็นสินค้าคงคลัง(Make-to-Stock) อย่างง่าย ซึ่งมีจุดเน้นด้านการผลิตสินค้าปริมาณมากและการผลิตเก็บสินค้าผ่านเครือข่ายของช่องทางการตลาดหลากหลายรูปแบบ มีการสร้างระบบข้อมูลที่ใช้ติดตามรอยการหมุนเวียนของสิ้นค้าคงเหลือ และทำให้ทราบถึงระดับของสิ้นค้าคงเหลือแต่ละรายการสำหรับงานการผลิต
                3.กลยุทธ์การผลิตและการดำเนินงาน
                กลยุทธ์ที่ 1  การผลิตเก็บเป็นสินค้าคงคลัง  ธุรกิจจะมีการผลิตสินค้า เพื่อเก็บเป็นสินค้าคงคลังที่พร้อมส่งมอบแก่ลูกค้าได้ทันที
                กลยุทธ์ที่ 2 การผลิตตามคำสั่ง ในการผลิตสินค้าตามความต้องการของลูกค้าโดยผลิตเป็นล็อต (Lot Production) ในปริมาณน้อย
                กลยุทธ์ที่ 3 การประกอบสินค้าตามคำสั่ง เป็นการประสินค้าส่วนมาตรฐานตามข้อกำหนดผลิตภัณฑ์ที่ระบุไว้ตามคำสั่งซื้อของลูกค้า

                4.หน้าที่ทางการผลิตและการดำเนิน
                หน้าที่การผลิตและการดำเนินนับเป็นปัจจัยสำคัญทางธุรกิจซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆที่ก่อให้เกิดผลผลิตในรูปแบบสินค้าหรือบริการจัดแบ่งหน้าที่เป็นสองด้าน คือ หน้าที่ด้านการผลิต หน้าที่ด้านโรงงานโดยแบ่งหน้าที่การผลิตได้
                4.1 การวางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์
                4.2 การออกแบบกระบวนการผลิต
                4.3 การวางแผนทำเลที่ตั้งโรงงาน
                4.4 การวางแผนการผลิตและการดำเนินงาน
                4.5 การจัดการวัสดุและสินค้าคงเหลือ
                4.6 การควบคุมคุณภาพสินค้า
                4.7 การลดต้นทุนการผลิตสินค้า
                4.8 การขจัดความสูญเปล่า
                4.9 ความปลอดภัยในโรงงาน
                4.10 การเพิ่มผลิตภาพทางการผลิต
                4.11 การบำรุงรักษา
                4.12 การประสานงานกับหน่วยอื่น
                5.การจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์
                การจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Managemet ) หมายถึง การกำหนดกระบวนการบูรณาการเรื่องการวางแผน การจัดการ การผลิต การจัดส่ง และการคืนสินค้า โดยรับต้นตั้งแต่ผู้ขายทุกระดับจนถึงผู้ซื้อทุกระดับตลอดจนวางแนวทางต้านกลยุทธ์การปฏิบัติขององค์การซึ่งก่อให้เกิดการไหลของสินค้าตลอดจนสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง
                6.ระบบการผลิตยุคใหม่
                6.1 ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี  แนวคิดทางการผลิตที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นและถือเป็นส่วนหนี่งของระบบการผลิตแบบโตโยต้า  ซึ่งยึดหลักสำคัญคือ ผลิตในจำนวนเท่าที่ต้องการในเวลาที่ต้องการและมีการควบคุมสินค้าคงเหลือให้เหลือน้อยที่สุด
                6.2 ระบบการผลิตแบบลีน เป็นระบบการผลิตที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกว่าทำให้เกิดมาตรฐานที่มีประสิทธิภาพสูงและมุ่งขจัดความสูญเปล่าอันสืบเนื่องมากจากทางด้านคุณภาพราคาการจัดส่งสินค้าและบริการสินค้า
สารสนเทศทางการผลิต
                1.แนวคิดและความหมาย
                สารสนเทศทางการผลิต คือ สารสนเทศที่ได้รับจากการประมวลของระบบสารสนเทศทางการผลิตซึ่งต้องอาศัยข้อมูลและสานสนเทศทางภายในและภายนอกองค์การ
                2.การจำแนกประเภท
สารสนเทศการผลิตสามารถจำแนกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
                2.1สารสนเทศเชิงปฏิบัติการ
                                2.1.1สารสนเทศด้านการดำเนินการผลิต
                                2.1.2สารสนเทศด้านการควบคุมคุณภาพ
                                2.1.3สารสนเทศด้านการแก้ปัญหา
                2.2 สารสนเทศด้านการบริหาร
                                2.2.1สารสนเทศด้านการออกแบบการผลิต
                                2.2.2สารสนเทศด้านการวางแผนการผลิต
                                2.2.3สารสนเทศด้านการจัดการโลจิสติกส์
                2.3 สารสนเทศภายนอกองค์การ
                                2.3.1สารสนเทศด้านผู้ขายวัสดุ
                                2.3.2สารสนเทศด้านการส่งวัสดุ
กระบวนการทางธุรกิจสารสนเทศ
1.การออกแบบการผลิต
                มีหน้าที่สำคัญของการผลิต คือ จะต้องมีการออกแบบการผลิตในแต่ละส่วนที่เกี่ยวข้องงานด้านการวางแผนและการดำเนินการผลิตซึ่งจำแนกระบบออกแบบได้ 2 กระบวนการ
                การออกแบบผลิตภัณฑ์
                การออกแบบระบบการผลิต
2.ระบบการวางแผนการผลิต
                2.1การวางแผนการผลิตรวม
                2.2การจัดตารางการผลิต
                2.3การวางแผนความต้องการวัสดุ
                2.4การวางแผนทรัพยากรการผลิต
3.ระบบการจัดการโลจิสติกส์
                3.1โลจิสติกส์ขาเข้า
                3.1.1การจัดหาวัสดุ
                3.1.2การตรวจรับวัสดุ
                3.1.3การควบคุมวัสดุ
                3.2การจัดการสินค้าคงเหลือ


supply chain management
กระบวนการ Supply Chain Management หรือ SCM เป็นกระบวนการของการบริหารทุกขั้นตอน นับตั้งแต่การนำเข้าวัตถุดิบสู่กระบวนการผลิต กระบวนการสั่งซื้อ จนกระทั่งส่งสินค้าถึงมือลูกค้าให้มีความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมกับสร้างระบบให้เกิดการไหลเวียนของข้อมูลที่ทำให้เกิดกระบวนการทำงานของแต่ละหน่วยงานส่งผ่านไปทั่วทั้งองค์การ การไหลเวียนของข้อมูลยังรวมไปถึงลูกค้า และผู้จัดส่งวัตถุดิบด้วย 

            กระบวนการ Supply Chain Management มีส่วนสำคัญที่ช่วยให้องค์การยกระดับความสามารถในการบริหาร เช่น การลดสินค้าคงคลัง การเพิ่มผลิตภาพหรือการลดความสูญเปล่าในกระบวนการทำงาน ส่งเสริมความเติบโตของธุรกิจ เช่น การเพิ่มโอกาสในการออกสินค้าใหม่ให้เร็วขึ้น การเปิดตลาดใหม่ ๆ การสร้างความพอใจแก่ลูกค้ามากขึ้น ส่งเสริมความยั่งยืนของธุรกิจ เช่น การลดต้นทุนธุรกิจ การบริหารเงินทุนหมุนเวียน เป็นต้น 

           Supply Chain Management  (SCM)  คือ กระบวนการโดยรวมของการไหลของวัสดุ สินค้า ตลอดจนข้อมูล และธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านองค์การที่เป็นผู้ส่งมอบ ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ไปจนถึงลูกค้าหรือผู้บริโภคโดยที่องค์การต่าง ๆ เหล่านี้มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจต่อกัน



โลจิสติกส์ (Logistics)

เป็นคำที่มาจากภาษากรีกแปลว่า “ศิลปะในการคำนวณ” ในสมัยโบราณ รวมทั้งในสมัยปัจจุบัน มีการกล่าวถึง การส่งกำลังบำรุงทางทหาร และการประสบชัยชนะ หรือความพ่ายแพ้ในสงครามโดยอาศัยความเข้มแข็ง หรือความอ่อนแอของสมรรถนะในเชิงโลจิสติกส์
คำนิยามที่ใช้นิยามการจัดการโลจิสติกส์ในระดับสากลนั้นจะเป็นคำนิยามจาก The Council of Logistics Management (CLM) ซึ่งได้ให้คำนิยามการจัดการด้านโลจิสติกส์ไว้ว่า 
“กระบวนการในการวางแผน ดำเนินการ และควบคุมประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการไหล การจัดเก็บวัตถุดิบ สินค้าคงคลังในกระบวนการ สินค้าสำเร็จรูป และสารสนเทศที่เกี่ยวข้องจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดที่มีการใช้งาน โดยมีเป้าหมายเพื่อสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค” 
นอกจากนั้นแล้ว Logistix Partners Oy, Helsinki, Fl ให้คำนิยามโลจิสติกส์ธุรกิจว่า
“โครงสร้างของการวางแผนทางธุรกิจ สำหรับการบริหารจัดการกับวัตถุดิบ การบริการการไหลของข้อมูล และเงินทุน ซึ่งรวมถึงข้อมูลที่มีความซับซ้อน การติดต่อสื่อสาร และกระบวนการควบคุม ให้ตรงกับความต้องการในสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจปัจจุบัน

พันธกิจของการบริหารโลจิสติกส์ คือ การวางแผนการดำเนินงานและประสานการดำเนินงานในกิจกรรมต่างๆที่มุ่งบรรลุผลในด้านการตอบสนอง ความต้องการของลูกค้า โดยการนำเสนอบริการและคุณภาพในระดับที่เหนือกว่า ด้วยต้นทุนการดำเนินงานที่สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ22 มีนาคม 2563 เวลา 02:03

    Halo,I'm Helena Julio from Ecuador,I want to talk good about Le_Meridian Funding Service on this topic.Le_Meridian Funding Service gives me financial support when all bank in my city turned down my request to grant me a loan of 500,000.00 USD, I tried all i could to get a loan from my banks here in Ecuador but they all turned me down because my credit was low but with god grace I came to know about Le_Meridian so I decided to give a try to apply for the loan. with God willing they grant me  loan of 500,000.00 USD the loan request that my banks here in Ecuador has turned me down for, it was really awesome doing business with them and my business is going well now. Here is Le_Meridian Funding Investment Email/WhatsApp Contact if you wish to apply loan from them.Email:lfdsloans@lemeridianfds.com / lfdsloans@outlook.comWhatsApp Contact:+1-989-394-3740.

    ตอบลบ